Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 




           ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด บ่งบอกถึงต้นกำเนิดของการ ทอผ้า แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันโดย มีเหตุผลหลายอย่างสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการ ทำเชือก ทอเสื่อ และการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฎ ร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เรื่อยมาจนถึงแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติ ศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุด ในโลกงานหนึ่ง
         หลักของการทอผ้า ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืน และอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัด หรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามีลวดลาย สีสันที่สวยงามแปลกตา
 
ขั้นตอนในการทอผ้า

        1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน  และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
        2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
        3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
        4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บในแกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้ พอเหมาะ
 
การทอผ้าพื้น

         เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น  ที่นำเอาด้ายเส้ยยืนและด้ายเส้นพุ่งมาขัดกัน  เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้น พุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสีเดียวกัน  หรือต่างสีกัน  หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ สวยงามยิ่งขึ้น
 
เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า


         • การขิด  ขิด  หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา  โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง  ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ


          ผ้าลายขิดของกลุ่มไทครั่ง (ลาวครั่ง ลาวเวียง ลาวกา) ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทยนั้น นิยมทอลายขิดประกอบลายจกซึ่งใช้เป็นลายหลัก ผ้าไทครั่งทอลายขิด ได้แก่ หมอนเท้า หมอนน้อย ผ้าห่มลาย ผ้าล้อ ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้าอาสนะ ผ้าซิ่นสิบซิ่ว ผ้าซิ่นหมี่ตา ผ้าซิ่นก่าน และผ้าใช้สอยอื่น ๆ ลวดลายผ้าขิดของกลุ่มไทครั่งมีลวดลายละเอียด นิยมทอด้วยฝ้ายมากกว่าไหม ลวดลายได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ อาทิ ลายดอกแก้ว ลายดอกจันทน์ ลายขอท้องพุ้ง ลายตะเภาหลงเกาะ ลายขออีโง้ง ลายขอระฆัง และลายเขี้ยวกระแต เป็นต้น

         • การจก เป็นเทคนิคการทำลวดลายบนผืนผ้า ด้วยวิธีการเพิ่มด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผ้า โดยใช้ไม้หรือขนเม่นหรือนิ้วมือยกหรือจกด้ายเส้นยืนขึ้นแล้วสอดด้ายพุ่งพิเศษเข้าไปทำให้สามารถออกแบบลวดลายและสีสันของผ้าจกได้ซับซ้อน และเพิ่มสีสันในลวดลายได้หลากหลายตลอดหน้ากว้างของผ้า แตกต่างจากผ้าลายขิดที่มีข้อจำกัดในการเพิ่มสีสันของเส้นพุ่งพิเศษตลอดหน้ากว้างของผ้าได้เพียงสีเดียว นับแต่อดีตผู้ทอผ้าจกนิยมทอเป็นตีนซิ่น เพื่อนำมาประกอบตัวซิ่น จึงเรียกตีนผ้าซิ่นที่ทอด้วยเทคนิคจกว่า ผ้าตีนจกหรือผ้าเชิงจก
         ในวิถีชีวิตดั้งเดิมนั้น นิยมนุ่งผ้าซิ่นตีนจกเฉพาะในโอกาสสำคัญ ๆ อาทิ งานแต่งงาน และงานบุญประเพณี ผู้ทอผ้าจึงนิยมทอลวดลายอย่างสวยงาม ซับซ้อน เพื่ออวดฝีมือให้ผู้อื่นได้ชื่นชม การที่หญิงสาวสามารถทอผ้าจกซึ่งยุ่งยากซับซ้อนกว่าการทอผ้าเทคนิคพื้นฐานอื่น ๆ ได้ ย่อมได้รับการยอมรับว่าก้าวผ่านสภาวะของเด็กหญิงเข้าสู่สภาวะของหญิงสาวที่สมบูรณ์ มีคุณสมบัติของกุลสตรีพร้อมที่จะเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี
         มาถึงปัจจุบัน ผ้าจกมีบทบาทมากขึ้น ด้วยการประยุกต์ พัฒนาตามยุคสมัย มีการนำผ้าจกมาตัดเย็บตกแต่งเข้ากับเสื้อผ้าสมัยใหม่ และข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้ความสวยงาม แปลกตา และเพิ่มคุณค่า

การทอผ้าจกจำแนกตามลักษณะการผูกเก็บปมเส้นพุ่งพิเศษได้เป็น ๒ วิธีคือ

1)  วิธีผูกเก็บปมเส้นด้ายพุ่งพิเศษด้านบน เป็นรูปแบบที่นิยมทำกันแพร่หลายที่สุด สามารถมัดเก็บปมได้แน่น เพราะมองเห็นถนัด ผู้ทออาจใช้กระจกส่องดูลวดลายที่ทอเสร็จจากด้านล่าง เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยของลวดลายในขณะทอ วิธีนี้นิยมในกลุ่มวัฒนธรรมไทยวน กลุ่มวัฒนธรรมไทลื้อ กลุ่มวัฒนธรรมไทครั่ง และกลุ่มวัฒนธรรมภูไท หรือผู้ไทย

2)  วิธีผูกเก็บปมเส้นด้ายพุ่งพิเศษด้านล่าง เป็นรูปแบบการทอโดยดูลวดลายที่ทอเสร็จแล้วจากด้านบน แต่ผู้ทอจะต้องระมัดระวังมิให้เส้นด้ายพุ่งพิเศษที่อยู่ด้านล่างพันกัน การผูกเก็บปมเส้นด้ายพุ่งพิเศษต้องอาศัยความชำนาญผูกปมด้านล่างซึ่งมองไม่เห็น วิธีการทอนี้นิยมในกลุ่มวัฒนธรรมไทพวน ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

         • การมัดหมี่ เป็นกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
       มัดหมี่เส้นพุ่ง
       มัดหมี่เส้นยืน
       มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน

วิธีการทอผ้า

          ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดบ่งบอกถึงต้นกำเนิดของการ ทอผ้า แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันโดย มีเหตุผลหลายอย่างสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการ ทำเชือก ทอเสื่อ และการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฏ ร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เรื่อยมาจนถึงแหล่งโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกงานหนึ่ง
           หลักของการทอผ้า ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืนและอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัดหรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษ

ขั้นตอนในการทอผ้า

1) สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง

2) เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ

3) การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา

4) การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ

         • การยก เป็นกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกด้ายเส้นยืน และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้น พุ่งจำนวนสองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้า ลวดลายที่ทอจะเป็นลายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และความเชื่อทางศาสนา ซึ่งได้แก่ ลายปราสาท ลานธรรมาสน์ ลายสัตว์ ลายพืช ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ และลายเรขาคณิต

 

ที่มา : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย(ออนไลน์), แหล่งที่มา http://www.sac.or.th/databases/ethnic/Content/Information/laokhrang.html