Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 




                 วัฒนธรรมการทอผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ไทครั่งนั้นถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นด้วยค่านิยมที่ว่า สตรีชาวไทครั่งต้องเชี่ยวชาญด้านการทอผ้า เพื่อแสดงว่าตนเองมีความเพียบพร้อมแบบสตรีชาวไทครั่ง นอกจากนั้น ไทครั่งยังเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งมีความเชื่อเรื่องของสิ่งทอในพระพุทธศาสนาว่า ผู้ทอซึ่งสร้างสรรค์ผลงานด้วยพลังแห่งศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา ถือเป็นเกียรติภูมิ และเป็นความดีงามแห่งชีวิตตนเอง ทุกเส้นใยที่สอดประสานกันเป็นผืนผ้า ศิลปินช่างทอจะถ่ายทอดจิตวิญญาณแห่งความศรัทธา ความเชื่อในกุศลผลกรรมใส่ลงไปบนผืนผ้าขณะที่ทอ ผลงานที่สำเร็จจึงมีความละเอียด ปราณีต งดงาม มีคุณค่าทั้งทางด้านสุนทรียะ และด้านจิตใจ
                 ความพิเศษของผ้าทอไทครั่ง คือ นิยมใช้สีวรรณะร้อน ใช้สีตัดกัน ประกอบด้วย สีแดง สีส้ม สีเขียว สีขาว และสีดำ ซึ่งความสามารถในการใช้สีที่ตัดกัน ตรงข้ามกัน ดังกล่าว ทำให้เกิดการผสานกลมกลืนด้วยสีสันของลวดลายการทอ สร้างเป็นผืนผ้าไทครั่งได้อย่างสวยงาม นอกจากนั้นยังมีวัตถุดิบทั้งฝ้ายและไหมที่เป็นองค์ประกอบของการทอ รวมทั้งเทคนิคที่ใช้ทอมีความหลากหลาย คือ การจก การขิด การยก และการมัดหมี่ ผ้าทอของไทครั่งจึงมีชื่อเสียงในด้านความงดงามของผ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ผ้าทอของชาติพันธุ์ไทยครั่ง แบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่

ผ้าสำหรับเครื่องแต่งกาย เช่น เสื้อ ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าโจง สไบ ถุงย่าม ฯลฯ

ผ้าที่ใช้สอยในครัวเรือน เช่น มุ้ง ผ้าหน้ามุ้ง ผ้าห่ม ฯลฯ

ผ้าที่ใช้นพิธีกรรม เช่น ผ้าอาสนะ ทุง (ออกเสียงว่า “ตุง” ในภาคเหนือ หรือ ออกเสียงว่า “ธง” ในภาคกลาง) ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้าปกหัวนาค ผ้าม่านกั้นผนัง หมอน ฯลฯ

 

ที่มา : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย(ออนไลน์), แหล่งที่มา http://www.sac.or.th/databases/ethnic/Content/Information/laokhrang.html