พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ผ้าทอไท-ยวน

กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ยวน

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน

ผ้าและเครื่องแต่งกายของไท-ยวน

ผ้าทอไท-ยวน

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน

อัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงชาติพันธุ์ของบรรพบุรุษ

ชาติพันธุ์ไท - ยวน ไตยวน หรือคนเมือง เป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา เป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีคำเรียกตนเองหลายชื่อ เช่น “ยวน” “โยน” หรือ “ไต” (ไท) และถึงแม้ปัจจุบันชาวล้านนาจะกลายเป็นพลเมืองของประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่มักเรียกตนเองว่า “คนเมือง” ต่อมาเกิดการย้ายถิ่นเพื่อตั้งรกรากยังจังหวัดต่าง ๆ และรวมกลุ่มรักษาขนมธรรมเนียมแบบไทยวน เช่น อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม และอำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกพบกลุ่มไทยวนที่ย้ายถิ่นมาจากจังหวัดราชบุรี

ความเป็นมาของชาวไท – ยวน ที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ถิ่นเดิมได้อพยพมาจากบ้านท่ามะเฟือง บ้านโค้งเขาหลวง บ้านใหญ่อ่างทอง จังหวัดราชบุรี การย้ายถิ่นไทยวนจากราชบุรีสู่จังหวัดพิษณุโลกนั้น สำหรับชาวไทยวนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดราชบุรี บางพื้นที่ประสบกับภาวะฝนแล้งติดต่อกันหลายปี การประกอบอาชีพเป็นไปด้วยความยากลำบาก สถานที่ประกอบอาชีพมีน้องไม่เพียงพอกับการเลี้ยงครอบครัว มีชาวไทยวนบางกลุ่ม ได้ชักชวนญาติพี่น้องอพยพเพื่อไปแสวงหาแหล่งทำมาหากินที่อุดมสมบูรณ์แหล่งใหม่ บางกลุ่มได้ไปตั้งหลักฐานที่จังหวัดนครปฐม จังหวัดพิจิตร จนถึงจังหวัดพิษณุโลก บางกลุ่มเดินทางข้ามเขตมาจากอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร การเดินทางสมัยนั้นจะใช้ควายเทียมเกวียนบรรทุกสัมภาระ ผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ อาทิ บ้านดงหมี วัดตายม บ้านสะเดา บ้านกกไม้แดง บ้านดงดินทอง บ้านป่าหมาก และบ้านวังน้ำคู้ บางกลุ่มข้ามแม่น้ำวังทอง และบางกลุ่มก็ไปข้ามแม่น้ำน่านที่บริเวณ สะพานนเรศวร ไปตั้งถิ่นฐานที่บริเวณโคกมะตูม (ตลาดโคกมะตูม) บ้านนาโพธิ์ บ้านเขื่อนขันแถวซอยแป้งนวล และบางกลุ่มได้มาพักที่บริเวณโคกโพธิ์หรือร้องโพธิ์ (ปัจจุบันคือสี่แยกอินโดจีน)

การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีของชาวไทยวน ในเขตจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ให้ชาวไทยวน จังหวัดพิษณุโลก ได้มีการตั้งชมรมไท - ยวนขึ้น ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ เลขที่ 134 หมู่ 3 บ้านดงประโดก ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเป็นศูนย์การเผยแพร่ วัฒนธรรม ประเพณี และส่งเสริมการอนุรักษ์กลุ่มชาติพันธุ์ของชาวไทยวน ให้เป็นที่รู้จัก เป็นศูนย์การการเรียนรู้้ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษ์ของชาวไทยวนให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบสานให้คงอยู่ต่อไป

การแต่งกายของชาวไทยวนจะนิยมนุ่งซิ่นผ้าฝ้ายทอด้วยกี่ทอมือ เป็นลายแบบโบราณ ที่มีการยกมุกเป็นลวดลายดอกและมีสีสันสวยงาม การแต่งกายของสตรีชาวไทยวนในอดีต จะนุ่งผ้าซิ่นแบบตะเข็บเดียวลายขวางลำตัว ซึ่งประกอบด้วย หัวซิ่น ตัวซิ่นและตีนซิ่น นิยมใช้ผ้าสีอ่อน คล้องคอ ใช้ผ้าแถบคาดอก ปล่อยชายข้างหนึ่งลงมา หรือห่มเฉียงไหล่ ต่อมานิยมสวมเสื้อแขนกระบอก เสื้อแขนกุด เสื้อคอกระเช้า ห่มสไบเฉียง ไว้ผมยาวเกล้ามวย ปักปิ่นและประดับด้วยดอกใม้หอม ส่วนผู้ชายชาวไทพวน นิยมไว้ผมทรงมหาดไทย มีทั้งสวมเสื้อและไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าเตี่ยวหรือผ้าต้อยสีเข้ม โดยนิยมถกชายผ้าขึ้นมาเหน็บเอวจนเหมือนกับกางเกงขาสั้นเรียกว่า “เค้ดหม้าม” เพื่ออวดลวดลายสักที่สวยงามบนร่างกายแล้วใช้ผ้าพาดบ่าหรือคลุมตัว ต่อมานิยมนุ่งกางเกงแบบชาวไทใหญ่ ที่เรียกว่า “เตียวสะดอ” และ “สวมเสื้อคอกลม”

ถงเป๋อ ถงปื๋อ ถงก๋าร(ย่ามงาน)

เป็นย่ามที่เย็บอย่างเรียบง่าย ใช้ได้สารพัดประโยชน์เวลามีงานบุญจะใช้ทำถุงแป้งขนมจีน

ถงหมากแดง

เป็นย่ามที่ใช้พกติดตัวใส่สัมภาระเวลาไปนอกบ้าน สามารถใช้ได้ทั้งผู้หญิงผู้ชาย ตัดเย็บมาจากผ้าหัวแดง(ผ้าขาวม้าแดง) ใส่ชายครุยและเก็บปากถงย่ามอย่างงดงาม

ถงจก

เป็นย่ามที่มีลวดลายวิจิตรงดงาม มีขั้นตอนการตัดเย็บอย่างประณีต ไม่ค่อยนิยมใช้ในหมู่คนทั่วไปเพราะทำยาก ในอดีตนิยมทำย่ามชนิดนี้ถวายพระสงฆ์ในบุญกินตานต่างๆ เช่น ปอยตานฐิน(ทอดกฐิน)

ถงลูกก๋ง หรือ ถงฮังผึ้ง

ผู้ชายชาวไทยวนราชบุรีจะใช้คาดเอว ใส่สัมภาระเล็กๆน้อยๆ เวลาไปนอกบ้าน (ลูกก๋ง คือ ลูกดินปั้นกลมใช้ยิงสัตว์)

ผ้าปรกหัวนาค

ในอดีตผู้เป็นแม่จะเป็นคนทอให้ลูกชายเมื่อถึงคราวบวช การวางลวดลายแฝงไว้ด้วยปริศนาธรรม

ผ้าซิ่นตีนจกเชียงแสน

จกบนพื้นสีแดงตัวซิ่นใช้ต่อกับตีนจก ทอด้วยวิธีมัดหมี่หรือมัดก่านสลับกับลวดลายยกมุก พบมากในผ้าซิ่นตีนจกยุคแรกของไท-ยวนราชบุรี

ซิ่นสิ้ว (สิ้วแปลว่าสีเขียว) (ผืนสีเขียว)

เป็นผ้าซิ่นที่ใช้สวมใส่ในชีวิตประจำวัน มีทั้งแบบปั่นไกและไม่ปั่นไก มีความวิจิตรเพิ่มขึ้นจากผ้าซิ่นแหล้และผ้าซิ่นเลื่อน เพราะเพิ่มกรรมวิธีปั่นไกและจกที่คิ้วซิ่น

ซิ่นแหล้ (ผืนสีดำแดง)

บางพื้นที่เรียกซิ่นดำด้านซิ่นก่านคอควาย เป็นซิ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นผ้าซิ่นตะเข็บเดียว วางลวดลายผ้าไปตามเส้นยืน เป็นผ้าซิ่นที่มีวิธีการทอง่ายที่สุดในบรรดาผ้าซิ่นชนิดต่างๆของไทยวนราชบุรี

ซิ่นต๋าหมู่

มีการวางลวดลายของตาซิ่นหรือแถบสีต่างๆเป็นหมู่ๆ มีความวิจิตรเพิ่มขึ้นมาจากผ้าซิ่นสิ้ว ใช้ในโอกาสที่ค่อนข้างพิเศษจะไม่ได้สวมใส่ในชีวิตประจำวันเพราะกรรมวิธีการทอค่อนข้างซับซ้อน มีทั้งแบบจกลายและไม่จกลาย ถ้าไม่จกลายจะเรียกว่าซิ่นต๋ามะดายหรือซิ่นต๋าเลี่ยน

ผ้าซิ่นต๋าดอก

(อยู่ในชนิดซิ่นต๋าหมู่แต่เพิ่มลายจกให้เยอะขึ้น) เป็นซิ่นที่ใช้ในโอกาสพิเศษ มีลวดลายการจกเต็มผืนผ้าสลับกับลสดลายการยกมุก (การขิด)

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

ผ้าทอไท-ยวน