ค่ำคืนที่ 3 ของการแสดงจากเครือข่ายศิลปวัฒนธรรม กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร
“รำพิษณุโลกงาม” ในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ประจำปี 2568
“รำพิษณุโลกงาม” ในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ประจำปี 2568
วันที่ 25 เมษายน 2568 มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ร่วมจัดการแสดงศิลปวัฒนธรรม ชุดที่ 3 “รำพิษณุโลกงาม” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ผู้ทรงปฏิรูประบบราชการ จัดระเบียบการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทรงยกฐานะเมืองสองแคว (พิษณุโลก) ให้เป็นหัวเมืองเหนือ
ของเมืองหลวงขึ้นคู่กับกรุงศรีอยุธยา ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา สังคมเศรษฐกิจ การค้าและศิลปวัฒนธรรมถือได้ว่าเป็น “ยุคทองของเมืองพิษณุโลก”
ร่วมจัดการแสดงศิลปวัฒนธรรม ชุดที่ 3 “รำพิษณุโลกงาม” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ผู้ทรงปฏิรูประบบราชการ จัดระเบียบการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทรงยกฐานะเมืองสองแคว (พิษณุโลก) ให้เป็นหัวเมืองเหนือ
ของเมืองหลวงขึ้นคู่กับกรุงศรีอยุธยา ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา สังคมเศรษฐกิจ การค้าและศิลปวัฒนธรรมถือได้ว่าเป็น “ยุคทองของเมืองพิษณุโลก”
“รำพิษณุโลกงาม” เป็นเพลงที่กล่าวถึงความงดงามของเมืองพิษณุโลก ประกอบด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสถานที่สำคัญ ทั้ง 9 อำเภอในจังหวัดพิษณุโลก
ฉบับเดิมชื่อ “งามพิษณุโลก” ประพันธ์โดย ร้อยโทจงกล ไกรฤกษ์
และจ่าทวี มาเม่น สำหรับฉบับปัจจุบันชื่อ “พิษณุโลกงาม” เพิ่มเติมบทประพันธ์ โดยอิทธิพล บำรุงกุล และคุณภู มหานคร
ประดิษฐ์ท่ารำและฝึกซ้อม โดย อาจารย์จันทร์เพ็ญ ภู่สมบัติขจร
ข้าราชการบำนาญชำนาญการพิเศษ สาขานาฏศิลป์ วิทยาลัยอาชีวะพิษณุโลก ทำการแสดง โดย กลุ่มรักษ์รำไทยเมืองสองแคว
ฉบับเดิมชื่อ “งามพิษณุโลก” ประพันธ์โดย ร้อยโทจงกล ไกรฤกษ์
และจ่าทวี มาเม่น สำหรับฉบับปัจจุบันชื่อ “พิษณุโลกงาม” เพิ่มเติมบทประพันธ์ โดยอิทธิพล บำรุงกุล และคุณภู มหานคร
ประดิษฐ์ท่ารำและฝึกซ้อม โดย อาจารย์จันทร์เพ็ญ ภู่สมบัติขจร
ข้าราชการบำนาญชำนาญการพิเศษ สาขานาฏศิลป์ วิทยาลัยอาชีวะพิษณุโลก ทำการแสดง โดย กลุ่มรักษ์รำไทยเมืองสองแคว
ความเห็นล่าสุด