ประวัติความเป็นมา

กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

0106601

ART_AND_CULTURE

ความเป็นมา

     ตามประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง จัดตั้งและปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการและหน่วยงานภายในสำนักงานอธิการบดี (เพิ่มเติม) โดยประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ให้เปลี่ยนสถานภาพ และชื่อคำเรียกหน่วยงาน จากสถาบันอารยธรรมศึกษาโขง – สาละวิน เป็นสถานอารยธรรมศึกษาโขง–สาละวิน และให้ย้ายไปสังกัดสำนักงานอธิการบดี โดยมีฐานะเทียบเท่ากองและให้แบ่งหน่วยงานภายในเป็น ๔ งาน ประกอบด้วย ๑. งานธุรการ ๒.งานวิจัยและสารสนเทศ ๓. งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๔. งานพิพิธภัณฑ์

    เมื่อคราวประชุมครั้งที่ ๒๐๗ (๕/๒๕๕๘) เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ให้ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารตามนโยบายของท่านอธิการบดี โดยผ่านสภามหาวิทยาลัย เพื่อให้การบริหารงานมีความชัดเจนและคล่องตัวในการขับเคลื่อนงาน ในทุกบริบท

    จึงได้มีประกาศสภามหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร (สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน) บังคับใช้ประกาศตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ให้แบ่งส่วนงานภายใน ดังนี้ ๑.งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒.งานวิจัยและสารสนเทศ โดยทำหน้าที่ศึกษาสืบค้น รวบรวม วิจัย พัฒนา รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกความมีตัวตนและอัตลักษณ์ให้กับคนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในกลุ่มชุมชนชาติพันธุ์พื้นที่ลุ่มน้ำโขง-สาละวิน ๖ ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตลอดจนเผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการสร้างเสริมเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ประสานสัมพันธ์กับหน่วยงานของภาครัฐบาล และเอกชน ทั้งภายในประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ อย่างสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกที่เชื่อมโยงนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

     ต่อมาสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ ๒๓๗ (๑๒/๒๕๖๐) เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ ระเบียบวาระที่ ๖.๗ เรื่องการปรับโครงสร้างหน่วยงานภายใต้สำนักงานอธิการบดี เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อจาก สถานอารยธรรมศึกษาโขงสาละวิน เป็น กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป โดยแยกเป็น ๒ งาน ๑ หน่วยได้แก่ ๑.งานบ่มเพาะและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ๒.งานวิจัยสร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม  ๓.หน่วยสนับสนุน 

     มติสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ในการประชุมครั้งที่ ๒๖๓ (๗/๒๕๖๒) เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ได้ปรับโครงสร้างส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักงานอธการบดี กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เปลี่ยนเป็นหน่วยงานภายในกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  ดังนี้  ๑.งานศิลปวัฒนธรรม  ๒.งานพัฒนานวัตศิลป์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป โดยนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร

      มติสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ในการประชุมครั้งที่ ๒๘๑ (๒/๒๕๖๔) เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ได้มีมติปรับโครงสร้างของกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม โดยจัดตั้งงานใหม่เพิ่มมาอีก ๑ งานได้แก่  งานอำนวยการ

วิสัยทัศน์

ศูนย์กลางการจัดการองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอุษาคเนย์ในระดับนานาชาติ

ปรัชญา

สร้างระบบนิเวศเกื้อกูลการทำนุบำรุงและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เพื่อการสะสมและ ต่อยอดองค์ความรู้ มุ่งสู่เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

๑. สร้างและบริหารจัดการฐานข้อมูลองค์ความรู้สังเคราะห์และขับเคลื่อนประชาคมนักวิชาการ นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ นานาชาติ ด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
๒. พัฒนาระบบบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านวิชาการและการท่องเที่ยวมูลค่าสูงระดับสากล
๓. สร้างและบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ เพื่อพัฒนากลไกการทำงานด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
๔. บ่มเพาะ พัฒนา ส่งเสริมผู้ประกอบการและยกระดับผลงานสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมและระบบเศรษฐกิจ
๕. บริหารจัดการหน่วยธุรกิจ เพื่อสร้างผลประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยและสังคมอย่างยั่งยืน

ค่านิยม (Value)

เรียนรู้ (Learning) : การเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับตัวเรา คนในองค์กรและสังคม
เสริมแรง (Supporting) : การตั้งเป้าหมายการทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือเกื้อกูล พัฒนาศักยภาพและร่วมสร้างสรรค์
แบ่งปัน (Sharing) : การแบ่งปันผลประโยชน์ องค์ความรู้และทรัพยากร

สมรรถนะหลัก (core competencies) = NUKE

N = Network เครือข่ายในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ
U = Unity ความร่วมแรงร่วมใจ
K = Knowledge ความเป็นไทจากอวิชชา
E = Ecosystem การจัดการระบบนิเวศเพื่อเกื้อกูลพันธกิจของหน่วยงาน

วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) :

เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สหวิทยาการ เพื่อขับเคลื่อนระบบนิเวศด้านศิลปวัฒนธรรม ให้เกิดประชาคมผู้มีความเชี่ยวชาญในการสร้างนวัตกรรม มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน