บุคลากรกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
เป็นกรรมการประกวดชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีเขตภาคเหนือตอนล่าง
สู่ต้นแบบระดับประเทศ
[ngg_images source=”galleries” container_ids=”3″ override_thumbnail_settings=”0″ thumbnail_width=”240″ thumbnail_height=”160″ thumbnail_crop=”1″ images_per_page=”30″ number_of_columns=”0″ ajax_pagination=”0″ show_all_in_lightbox=”0″ use_imagebrowser_effect=”0″ show_slideshow_link=”1″ slideshow_link_text=”[Show slideshow]” order_by=”sortorder” order_direction=”ASC” returns=”included” maximum_entity_count=”500″ display_type=”photocrati-nextgen_basic_thumbnails”]
เมื่อวันที่ ๖ – ๑๔ กันยายน ๒๕๖๑ นายวชิรพงษ์ วงศ์ประสิทธิ์ นักวิชาการช่างศิลป์ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมเป็นคณะกรรมการในกิจกรรมการประกวดชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในเขต ๙ จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ในนามของมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีดร.ไพศาล สุขปัญญา ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานคณะกรรมการ พร้อมด้วยผู้แทนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกรมการพัฒนาชุมชน ลงพื้นที่ ๑๘ ชุมชน ในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย ตาก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี เพื่อคัดเลือกให้เหลือ ๖ ชุมชน เป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีต้นแบบในระดับประเทศ โดยมีศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลกเป็นผู้ดำเนินการ
การประกวดครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนตื่นตัวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีศักยภาพและมีความพร้อมในการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว พัฒนาเป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีอย่างสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วม ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี แสดงขีดความสามารถด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและเป็นต้นแบบให้ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีอื่น ๆ ตลอดจนเป็นการพัฒนาศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีระดับจังหวัดและนวัตวิถีต้นแบบให้มีความสมบูรณ์แบบ
สำหรับโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีนี้ ดำเนินงานโดยกรมการพัฒนาชุมชน เป็นแนวคิดเพื่อพัฒนา OTOP รูปแบบใหม่ โดยให้ขายสินค้าอยู่ภายในชุนชน เป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้ชุมชน นำเสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์มาแปลงเป็นรายได้ ทำให้รายได้กระจายอยู่ภายในชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็ง ทุกคนพร้อมเป็นเจ้าบ้าน ทำให้ลูกหลานไม่ต้องออกไปหารายได้จากภายนอกชุมชน ซึ่งแตกต่างจาก OTOP เดิม ที่ต้องนำสินค้าออกไปขายนอกชุมชน และทุกอย่างขึ้นกับหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ชุมชนต้องมีความเข้มแข็ง มีการจัดทำแผนธุรกิจ ปฏิทินท่องเที่ยวของชุมชน ที่ใช้งบประมาณอย่างสมเหตุสมผลอย่างยั่งยืน
โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จึงนับเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจฐานราก และลดความเหลื่อมล้ำของสังคม เกิดชุมชนเข้มแข็ง ยั่งยืน โดยการนำนวัตกรรมาผสมผสานกับวิถีชีวิต ในการผลิตสินค้าท้องถิ่นหรือผลิตภัณฑ์ OTOP ภายใต้แนวคิด ร่วมสุข ร่วมวิถี ร่วมสมัย (Happiness Oriented)พร้อมกับผนวกการท่องเที่ยวของชุมชนเข้าไป
ความเห็นล่าสุด