สอนเยาวชนทำผ้ามัดย้อมแบบไทยสไตล์ญี่ปุ่น“นวัตวิถีชิโบริ ซีซั่น ๒” พัฒนาเรียนรู้สู่การสร้างคุณค่าและมูลค่า

สอนเยาวชนทำผ้ามัดย้อมแบบไทยสไตล์ญี่ปุ่น“นวัตวิถีชิโบริ ซีซั่น ๒”
พัฒนาเรียนรู้สู่การสร้างคุณค่าและมูลค่า

IMG_31234

[ngg_images source=”galleries” container_ids=”110″ override_thumbnail_settings=”0″ thumbnail_width=”240″ thumbnail_height=”160″ thumbnail_crop=”1″ images_per_page=”30″ number_of_columns=”0″ ajax_pagination=”0″ show_all_in_lightbox=”0″ use_imagebrowser_effect=”0″ show_slideshow_link=”1″ slideshow_link_text=”[Show slideshow]” order_by=”sortorder” order_direction=”ASC” returns=”included” maximum_entity_count=”500″ display_type=”photocrati-nextgen_basic_thumbnails”]

     กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการพัฒนาเส้นทางการเรียนรู้ ระยะ ๒ “นวัตวิถีชิโบริ ซีซั่น ๒” ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ณ พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดโครงการ

     การอบรมครั้งนี้ประกอบด้วยครูและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน ๕๐ คน  จาก ๑๐ โรงเรียนในจังหวัดพิษณุโลก คือ โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก, โรงเรียนหนองพระพิทยา, โรงเรียนบ้านร้องยุ้งข้าว, โรงเรียนพรหมพิรามวิทยา, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดพิษณุโลก, โรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา, โรงเรียนวังน้ำคู้ศึกษา, โรงเรียนวังทองพิทยาคม, โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย พิษณุโลก และโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม โดยมีนางสาวทัตทริยา เรือนคำ บุคลากรงานบ่มเพาะและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเป็นวิทยากร   ฝึกสอนนำนวัตกรมการมัดย้อมของไทยผสมผสานกับวิธีทำผ้ามัดย้อมแบบชิโบริของประเทศญี่ปุ่น เป็นผ้าเช็ดหน้าและผ้าคลุมไหล่ลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายคุโมหรือการบิดเกลียวและรัด, ลายอาราชิหรือการพันแกน, ลายอิตาจิเมะหรือการพับและมัด, ลายโมคุเมะหรือการเย็บรูด ผ่านกระบวนการย้อมทั้งในแบบร้อนและแบบเย็น โดยใช้สีจากวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ สีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากขมิ้น สีน้ำเงินจากคราม ออกมาเป็นผ้าสีสันสดใส ลวดลายสวยงามตามที่ได้เรียนรู้จากการอบรม และการประยุกต์ดัดแปลงเป็นลวดลายใหม่


     การอบรมครั้งนี้นับเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เยาวชนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตนเองและสถาบันการศึกษา ทั้งยังเป็นการกระตุ้นความคิดในการพัฒนานวัตกรรมการมัดย้อมที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับว่าสอดคล้องกับนโยบายแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ที่มุ่งส่งเสริมการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้กว้างขวาง แพร่หลายและยั่งยืนต่อไป