จัดการอบรม “การออกแบบลวดลายและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้า” แก่สมาชิกกลุ่มทอผ้าในอำเภอเนินมะปราง พิษณุโลก

จัดการอบรม “การออกแบบลวดลายและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้า”
แก่สมาชิกกลุ่มทอผ้าในอำเภอเนินมะปราง พิษณุโลก
สร้าง ๕ ลวดลายใหม่ สู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบเครื่องแต่งกายและเคหะสิ่งทอ

9999

[ngg_images source=”galleries” container_ids=”90″ override_thumbnail_settings=”0″ thumbnail_width=”240″ thumbnail_height=”160″ thumbnail_crop=”1″ images_per_page=”30″ number_of_columns=”0″ ajax_pagination=”0″ show_all_in_lightbox=”0″ use_imagebrowser_effect=”0″ show_slideshow_link=”1″ slideshow_link_text=”[Show slideshow]” order_by=”sortorder” order_direction=”ASC” returns=”included” maximum_entity_count=”500″ display_type=”photocrati-nextgen_basic_thumbnails”]

     เมื่อวันที่ ๓ – ๗ ธันวาคม ๒๕๖๑ ณ กลุ่มแม่บ้านหนองหญ้าปล้อง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบลวดลายและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้า” โดยเป็นการฝึกอบรมให้แก่สมาชิกกลุ่มทอผ้าหนองหญ้าปล้อง กลุ่มแม่บ้านผารังหมี และกลุ่มทอผ้าฝ้ายแกมไหมซำรัง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ในการออกแบบและทอผ้าลวดลายใหม่จำนวน ๕ ลาย ประกอบด้วยเทคนิคมัดหมี่ ๔ ลวดลายคือ ลายปีบกาสะลอง, ลายปีบขาว, ลายนนทรี, ลายดอกเสลา และเทคนิคยก ๔ ตะกอลายดอกเสลาอีก ๑ แบบ ทั้งนี้ปีบนับเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพิษณุโลก นนทรีเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก ส่วนดอกเสลาเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร ในการอบรมนั้นเริ่มตั้งแต่การสอนมัดลาย การย้อมสี การเปลี่ยนเส้นใยจากไหมประดิษฐ์และฝ้าย เป็นเรยอนผสมฝ้าย ไปจนถึงการถักทอเป็นผืนผ้าทั้ง ๕ ลวดลาย ซึ่งเรยอนเป็นหนึ่งเส้นใยธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีคุณสมบัติเพิ่มความนิ่มและความทิ้งตัวของผ้า เมื่อทอสำเร็จเป็น ๕ ลวดลายต้นแบบแล้ว จะมีการนำผ้าทอมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบประเภทเครื่องแต่งกาย จำนวน ๕ ชิ้น และเคหะสิ่งทอจำนวน ๕ ชิ้น เพื่อเป็นสินค้าต้นแบบในเขตภาคเหนือตอนล่างต่อไป

     การอบรมการออกแบบลวดลายและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าในครั้งนี้ เกิดจากทางกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเล็งเห็นว่า จังหวัดพิษณุโลกก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีกลุ่มทอผ้าจำนวนมาก แต่ยังขาดความรู้และศักยภาพในการพัฒนาผ้าทอของกลุ่มให้แข่งขันกับจังหวัดอื่น ๆ ได้ ดังนั้น จึงจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้น เป็นการออกแบบลวดลายผ้าทอของจังหวัดพิษณุโลก และจัดทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยจะเป็นการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ทั้งในด้านแฟชั่นและการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ (Function) เพื่อที่จะส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มทอผ้า ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องที่ต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอย่างยั่งยืนต่อไป